ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ หุ้น

CategoriesLifestyleTagged

การลงทุนที่กำลังได้รับความนิยมทุกเพศทุกวัยในปัจจุบันที่มากแรงแบบที่สุด ก็คงจะหนีไม่พ้น “ลงทุนในหุ้น” กันอย่างแน่นอน เพราะเนื่องด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถซื้อ-ขาย หุ้นได้เพียงปรายนิ้วสัมผัสเท่านั้นเองครับ แต่เราก็เชื่อว่ายังมีอีกหลายๆ ท่านที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนแบบนี้ วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ หุ้น” กันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปชมกันเล้ยย!!!

หุ้นแบ่งเป็นกี่แบบกี่ประเภท

“หุ้น” เป็นตราสารที่กิจการออกให้แก่ผู้ถือ เพื่อระดมเงินทุนไปใช้ในกิจการ โดยผู้ถือตราสารทุนจะมีฐานะเป็น “เจ้าของกิจการ” ซึ่งจะมีส่วนได้ส่วนเสีย หรือมีสิทธิในทรัพย์สิน และรายได้กิจการ รวมทั้งมีโอกาสได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล ซึ่งอยู่กับผลกำไร และข้อตกลงของกิจการนั้นๆ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่…

หุ้นสามัญ เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทมหาชนจำกัด (บมจ.) ที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน โดยผู้ถือหุ้นสามัญจะมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัท  มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือครองอยู่ กล่าวคือ ร่วมเป็นผู้ตัดสินใจในปัญหาสำคัญในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เช่น การเพิ่มทุน การจ่ายปันผล การควบรวมกิจการ ฯลฯ

หุ้นบุริมสิทธิ เป็นตราสารที่ผู้ถือมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการเช่นเดียวกับหุ้นสามัญ แม้จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ ขณะเดียวกัน หากกิจการนั้นต้องเลิกกิจการ และมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์ก็จะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ

3 หลักการเลือกหุ้น

●เช็คประวัติและผลประกอบการธุรกิจ เราต้องทราบว่า คนหรือหุ้นที่เราจะเลือกมีคุณสมบัติหรือมีประวัติอย่างไร เช่น เขาเป็นใคร มาจากไหน ทำธุรกิจอะไร ลักษณะธุรกิจเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้ถือหุ้น มีธรรมาภิบาลไหม ธุรกิจที่ทำเป็นตลาดผูกขาดหรือไม่ การแข่งขันเป็นอย่างไร มีสินค้ามาทดแทนได้ไหม คู่แข่งจะเข้ามาง่ายหรือเปล่า และที่สำคัญอำนาจการต่อรองของผู้ซื้อเป็นอย่างไร ถ้าผู้ซื้อมีอำนาจต่อรองสูง ราคาสินค้าหรือบริการก็ถูกลง กำไรก็น้อยลง รวมถึงอำนาจการต่อรองกับผู้ผลิตเป็นอย่างไร ถ้าผู้ผลิตมีอำนาจต่อรองสูงต้นทุนก็จะสูงขึ้น

นอกจากนี้ ยังต้องดูทรัพย์สินของเขา (ดูงบการเงิน) อย่างละเอียดด้วย เช่น เขามีทรัพย์สินอะไรบ้าง มีทรัพย์สินเท่าไหร่ มีหนี้สินมากหรือน้อย การดำเนินงานมีผลประกอบการเป็นอย่างไร ยอดขายและกำไรดีไหม รายได้ของธุรกิจเติบโตขึ้นทุกปีหรือไม่ กระแสเงินสดเป็นอย่างไร โดยต้องดูข้อมูลเหล่านี้ย้อนหลัง ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ควรดูตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ยิ่งดูย้อนหลังนานเท่าไหร่ ยิ่งดี

●ทำการประเมินความเสี่ยง  ต้องดูความเสี่ยงของคนที่เราจะคบว่ามีอะไรบ้าง ต้องระวังเรื่องใดเป็นพิเศษ เปรียบเหมือนหุ้นที่เลือก เราต้องเผชิญความเสี่ยงอะไรในตัวบริษัทนั้นบ้าง เช่น หากเป็นบริษัทส่งออก เรื่อง “ค่าเงินบาท” ย่อมมีผลกระทบต่อกำไรของบริษัท หรือปัจจัยอื่นๆ เช่น น้ำมัน การเมือง โรคระบาด จะส่งผลกระทบเชิงบวกหรือลบต่อบริษัทอย่างไร เราต้องศึกษาและติดตามความเสี่ยงหรือปัจจัยที่จะกระทบต่อบริษัทที่จะซื้อหุ้นด้วย

●เหมาะกับฐานะเรา ควรเลือกหุ้นที่มั่นคงและมีโอกาสเติบโต รวมถึงต้องดูด้วยว่า ราคาหุ้นแพงไปแล้วหรือเปล่า โดยต้องหามูลค่าที่แท้จริง เพื่อซื้อในราคาที่เหมาะสม ไม่แพงเกินไป เช่น ดูค่า P/E ว่าถูกหรือแพง โดยประเมินจุดคุ้มทุน กล่าวคือ ถ้าหุ้น A ราคา 10 บาท มีกำไรต่อหุ้น 1 บาท ค่า P/E จะเท่ากับ 10 เท่า นั่นหมายความว่า หากกิจการมีกำไรต่อหุ้นคงที่ และจ่ายเป็นปันผลทั้งหมด เราต้องถือหุ้นตัวนั้น 10 ปี จึงจะคืนทุน ดังนั้น การดูค่า P/E ก็เป็นอีกปัจจัยที่ช่วยเลือกซื้อหุ้นได้

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ หุ้น” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันวันนี้ ท่านน่าเข้าใจเกี่ยวกับหุ้นกันมากขึ้นกันนะครับ 

About the author